หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระพุทธนเรศวร์สักชัยฯ วัดบุพพาราม จ.เชียงใหม่
    คอลัมน์ เดินสายไหว้พระ



    ดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทยนั้น เป็นแหล่งป่าไม้สำคัญโดยเฉพาะไม้สัก

    ต้นไม้ในป่ามีโอกาสที่จะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ เราจึงมักได้ยิน ได้ฟังคำบอกเล่าถึงขนาดของต้นไม้ใหญ่สามคนโอบบ้าง สี่คนโอบบ้าง ซึ่งปัจจุบันเป็นเพียงตำนานที่เล่าขานสู่กันฟัง

    แต่ประจักษ์พยานชิ้นหนึ่งที่ยืนยันความมีอยู่จริงของตำนานต้นไม้ใหญ่หลายคนโอบนั้น อยู่ในรูปพระพุทธรูปไม้สักที่มีนามว่า "พระพุทธนเรศวร์สักชัยไพรีพินาศ" ที่ประดิษฐานอยู่กลางเมืองเชียงใหม่

    ตามเรื่องราวที่ปรากฏ กล่าวว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพขึ้นมาทำศึกกับพม่าที่เมืองเชียงใหม่ในปี 2147 หลังจากทรงรุกไล่ข้าศึกถอยหนีเข้าไปทางเมืองแหงและเมือง ต๋วนในเขตไทยใหญ่ทางตอนเหนือของพม่าได้แล้ว โปรดให้สร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่หน้าตักกว้างวาเศษจากไม้สักขึ้นองค์หนึ่งไว้เป็นอนุสรณ์

    เมื่อคิดถึงว่าพระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดหน้าตักกว้างหนึ่งวาเศษและสร้างโดยวิธีแกะสลัก จากไม้สักขนาดใหญ่ทั้งต้น หมายความว่าไม้สักที่นำมาใช้แกะสลักพระจะต้องมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกินกว่าหนึ่งวาขึ้นไป ซึ่งออกจะเป็นเรื่องที่ต้องใช้จินตนาการอย่างยิ่งสำหรับคนยุคปัจจุบัน

    แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ที่มีชีวิตอยู่เมื่อเกือบ สี่ร้อยปีที่แล้วขณะที่มีการสร้างพระองค์นี้

    "พระพุทธนเรศวร์สักชัยไพรีพินาศ" ถือว่าเป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากไม้สักที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มีปรากฏ และยังมีความงดงามเป็นที่เคารพเลื่อมใสในหมู่ชาวบ้านทั่วไป ภายหลังเคลื่อนย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดบุพพาราม เพื่อให้ชาวเมืองได้กราบไหว้สักการะตราบจนปัจจุบัน

    ปัจจุบัน พระพุทธนเรศวร์สักชัยไพรีพินาศ ประดิษฐานอยู่ที่หอมณเฑียรธรรม วัดบุพพาราม ถนนท่าแพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

    พระพุทธนเรศวร์สักชัยไพรีพินาศ มีพุทธลักษณะศิลปะอยุธยา ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 1 วา 1 คืบ สูง 9 ศอก วัสดุไม้สักลงสี

    วัดบุพพาราม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดอุปปา ตั้งอยู่เลขที่ 143 ถนนท่าแพ ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 4 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา

    เป็นวัดคู่เมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระญาเมืองแก้ว กษัตริย์ล้านนาลำดับที่ 12 ราชวงศ์มังราย (ครองราชย์ระหว่างปี พ.ศ.2039-2068)

    ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ ได้กล่าวถึงการสร้างวัดบุพพารามว่า พระเจ้าติลกปนัดดาธิราช (ราชนัดดาของพระเจ้าติโลกราช คือ พระญาเมืองแก้ว) หลังจากที่ได้ราชาภิเษกแล้วในปีที่ 2 โปรดให้สร้างอารามขึ้นอารามหนึ่งในหมู่บ้านที่พระราชอัยกา ครั้งเป็นยุพราชและพระบิดาของพระองค์เคยประทับมาก่อน เมื่อวันอังคารขึ้น 7 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง จุลศักราช 858 โดยพระองค์ตั้งชื่ออารามนั้นว่า บุพพาราม แปลว่าอารามตะวันออก

    ทั้งนี้ โดยถือเอานิมิตว่าได้ตั้งอยู่ทางทิศบูรพาแห่งนพีสีราชธานี ซึ่งเป็นตำแหน่งมูลเมือง ตามคัมภีร์มหาทักษา

    วัดแห่งนี้ ได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2362 เจ้าหลวงธรรมลังกา โปรดให้สร้างวิหารหลังเล็กซึ่งเป็นเครื่องไม้ศิลปะล้านนา หน้าบันเป็นปูนปั้นประดับกระจกแกะลายสลักไม้อย่างงดงาม

    ส่วนวิหารหลังใหญ่หน้าบันมีลวดลายไม้แกะสลักแบบพม่า เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อด้วยทองแดงล้วนหนัก 1 โกฏิ อายุ 400 ปีเศษ และพระพุทธรูปเชียงแสนหล่อด้วยสำริดอยู่ทางด้านซ้ายและขวาอีกหนึ่งคู่

    ความสำคัญของวัดบุพพาราม คือ เคยเป็นที่สถิตของพระมหาสังฆราชปุสสเทวะ

    นอกจากนี้ ยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อีกทั้งมีประเพณีสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุในวันเพ็ญเดือน 6 เหนือ (เดือน 4 ภาคกลาง) ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ประจำทุกปี

    • Update : 2/10/2554
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved