หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ'เงิน'และ'พุทธศาสนา'

    เงินงอกงาม ธรรมงอกเงย (๔) ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ 'เงิน' และ 'พุทธศาสนา' : คันฉ่องและโคมฉาย โดย ว.วชิรเมธี

                มาดูฐานะของเงินในอีกความหมายหนึ่งที่ท่านกล่าวว่า “เงิน คือ ปัจจัย” (เครื่องอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต) หมายความว่าอย่างไร               คำว่า “ปัจจัย” หมายถึง เครื่องอิงอาศัยในการดำรงชีวิต                       

                 ตามปกติคำว่า “ปัจจัย” ย่อมหมายถึง ปัจจัยสี่ เช่น ๑.เครื่องนุ่งห่ม ๒. อาหารการกิน ๓.ที่อยู่อาศัย ๔.ยารักษาโรค เมื่อเราบอกว่า พุทธศาสนาถือว่า เงิน คือ ปัจจัย ก็หมายความว่า เงินเป็นเพียง “เครื่องมือ” อย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตเท่านั้น ไม่ได้เป็น “เป้าหมายสูงสุด” ของการดำรงชีวิตแต่อย่างใด (ในพุทธศาสนาท่านถือว่า เป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ นิพพาน ไม่ใช่เงินอย่างที่มีบางคนพยายามจะบอกว่า ผู้เขียนสอนให้เข้าใจไปในทำนองนั้น ซึ่งเป็นการตั้งใจเบี่ยงเบนเจตนารมณ์ของผู้เขียนโดยปราศจากความเข้าใจพื้นฐานทางพุทธศาสนาอย่างสิ้นเชิง)
        
                      ดังนั้นหากจะมีใครกล่าวว่า “พุทธศาสนาสอนว่า เงิน คือ เป้าหมายสูงสุดของชีวิต” นี่ย่อมเป็นความเข้าใจที่ผิดต่อพุทธศาสนา
        
                      หรือหากจะมีใครกล่าวว่า ผู้เขียน (ว.วชิรเมธี) สอนว่า “เงิน คือ เป้าหมายสูงสุดของชีวิต” หรือ “เงินเป็นใหญ่” และ/หรือ “เงินสำคัญที่สุด” ก็ย่อมเป็นความเข้าใจผิดใน ๒ สถาน คือ ๑.เข้าใจผิดต่อพุทธศาสนา ซึ่งไม่ได้สอนเช่นนี้ และ ๒.เข้าใจผิดต่อตัวผู้เขียน (ซึ่งย่อมสอนพุทธธรรมตามหลักพุทธศาสนา)
         
                      ที่ผู้เขียนสอน แสดงธรรม หรือเขียนว่า “เงินงอกงาม เพื่อธรรมงอกเงย” นั้น หมายความว่าอย่างไร
         
                      คำตอบก็คือ ผู้เขียนต้องการชี้ว่า ในพุทธศาสนานั้น เรามองว่า เงินไม่ใช่สิ่งสำคัญสูงสุดของชีวิต เงินไม่ใช่พระเจ้า เงินไม่ใช่คำตอบสุดท้ายสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เงินเป็นเพียงปัจจัยเครื่องอาศัยในการดำรงชีวิตให้ราบรื่นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ถ้าเรามีเงินก็ควรรู้จักเปลี่ยนเงินให้เป็น “ธรรม” ซึ่งหมายถึง “คุณภาพชีวิตของตน เช่น ปัญญา สุขภาพ ความดีงาม คุณภาพชีวิตของคนอื่น ของสังคม และของโลก”
         
                      พิจารณาให้ดีๆ จะเห็นว่า ข้อความดังกล่าวนี้ไม่ได้สอนให้มีเงินแล้วจบที่เงิน แต่วลีข้างหน้าเป็นเหตุ วลีข้างหลังเป็นผลอยู่ในตัวอย่างชัดเจน แทบไม่เปิดช่องให้ตีความว่า “เงินเป็นใหญ่” ตรงไหนเลย ถ้าอ่านกันอย่างพินิจจะเห็นว่า ข้อความนี้มีความชัดเจนอยู่ในตัวเองแล้วว่า ผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไร อย่างไรก็ตาม ต่อไปอาจต้องเขียนให้ยืดยาวขึ้นว่า “เงินงอกงาม เพื่อให้ธรรมงอกเงย” หรือ “ถ้ามีเงิน กรุณาเปลี่ยนเงินให้เป็นคุณภาพชีวิต” แต่เขียนอย่างนี้คงไม่เรียกว่า “คมธรรมประจำวัน” เพราะผู้อ่านแทบไม่ได้ใช้สมองในการคิดเชิงวิเคราะห์เลย


    • Update : 21/5/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved