หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    อึ้ง!จองกฐินข้ามภพข้ามชาติเกือบ๕๐๐ปี

    อึ้ง!จองกฐินข้ามภพข้ามชาติเกือบ๕๐๐ปี

    อึ้ง!จองกฐินข้ามภพข้ามชาติเกือบ๕๐๐ปี : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

                 พิธีทอดกฐิน จัดเป็นกาลทาน แปลว่า "ถวายตามกาลสมัย" ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นประธานทำบุญกฐิน ต้องทำการจองกฐิน ซึ่งนิยมจองก่อนเข้าพรรษา หรือหลังจากเข้าพรรษาแล้วไม่นาน ที่จองกันข้ามปีก็มี แต่ถ้าไม่มีการจองเลย จนออกพรรษาเรียกว่า กฐินตกค้าง
     
                   การจองกฐินล่วงหน้า ที่ขึ้นชื่อว่ายาวนานที่สุด ต้องยกให้การจองเป็นประธานเอกทอดผ้าพระกฐินพระราชทานวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม. ซึ่งอาจจะเรียกว่า กฐินวัดปากน้ำต้องจองข้ามภพข้ามชาติเลยทีเดียว โดยข้อมูลล่าสุด เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ มีผู้จองเป็นประธานเอกถึง พ.ศ. ๓๐๕๒ หรือ ล่วงหน้าไป ๔๙๗ ปี คาดว่าในงานบุญกฐินปี ๒๕๕๕ นี้จะมีผู้จองล่วงหน้าถึง ๕๐๐ ปี
     
                   พระมหา ดร.วรัญญู วรญฺญู ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พระผู้จัดทำข้อมูลบัญชีรายชื่อผู้จองกฐิน เปิดเผยว่า ด้วยความศรัทธาในพระมงคลเทพมุนี  หรือหลวงพ่อสด จนฺทสโร วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กทม. ข้อมูลเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๕ มีผู้จองเป็นประธานเอกถึงปี พ.ศ. ๓๐๕๒ หรือ ล่วงหน้าไป ๔๙๗ ปี คาดว่าในงานบุญกฐินปีนี้จะมีผู้จองล่วงหน้า ๕๐๐ ปี และได้จ่ายเงินแล้วเกือบ ๓๐๐ ราย โดยมีมีผู้จองเป็นประธานร่วมแล้ว ๑,๐๑๓ ราย แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ ๑.ประธานตลอดชีพ ๘๑๘ ราย ๒.ประธานเฉพาะปี ๑๙๕ รายนอกจากนี้ ยังมีกรรมการอีก ๑,๒๐๒ ราย
     
                   ด้วยจำนวนการจองกฐินที่ยาวในงานงานทอดกฐินพระราชทานปีนี้ ทางวัดได้จัดทำอนุโมทนาบัตรพิเศษมอบให้ประธานเอกทุกปี โดยมีรายละเอียด ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และพ.ศ.ที่จองอย่างชัดเจน เพื่อเป็นเอกสาร หรืออาจเรียกว่าพินัยกรรมจองกฐิน ให้ลูกได้รู้ว่ามีการจองกฐินไว้ล่วงหน้า ขณะเดียวกันการมอบอนุโมทนาบัตรพิเศษยังเป็นการตรวจสอบผู้จองนั้นอยู่ที่ไหน และยืนยันการเป็นเจ้าภาพ
     
                   อย่างไรก็ตามตั้งแต่มารับทำงานนี้ได้จัดระเบียบผู้จองใหม่ โดยไม่ให้เลือก พ.ศ.ที่มีตัวเลขอันเป็นมงคล ขณะเดียวกันก็ให้ชำระค่าเป็นเจ้าภาพผ้ากฐินจำนวน ๒.๒ หมื่นบาท โดยทางวัดได้เปิดบัญชีเพื่อฝากเงินสำหรับผู้จองกฐินไว้ล่วงหน้า ที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาตลาดพลู เลขที่บัญชี ๑๑๕-๒-๔๓๔๒๐-๓ เป็นเงินฝากประจำ โดยระบุวัตถุประสงค์การฝากไว้ว่า "เพื่อเป็นเจ้าภาพถวายผ้ากฐินให้วัดปากน้ำภาษีเจริญ พ.ศ...." เมื่อตรงกับ พ.ศ.ใด ที่ใครเป็นเจ้าภาพก็จะเบิกเงินของเจ้าภาพท่านนั้นๆ ออกมาใช้ซื้อเครื่องกฐิน ๒,๐๐๐ บาท ส่วนอีก ๒ หมื่นบาท ไปใช้ในกิจของวัดด้านอื่นๆ
     
                   "๑.เป็นผู้ถือไตรกฐินพระราชทาน ๒.ศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อสด ๓.ประสบความสำเร็จจากการบนบานศาลกล่าว และ ๔.จ่ายเงินเพียง ๒.๒ หมื่นบาท ก็เป็นประธานเอกได้แล้ว ทั้งนี้อาตมาได้จองเป็นเจ้าภาพไว้อีก ๒๒๐ ปี ข้างหน้า และได้ฝากเงินไว้แล้ว ๓๓,๓๓๓ บาท" นี่คือเหตุผลการของกฐินข้ามภพข้ามชาติ ของ พระมหา ดร.วรัญญู
     
                   สำหรับประธานเอก ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ วัดปากน้ำ (พระอารามหลวง) เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ วันอาทิตย์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ คุณแม่บวรศรี ปุณณภุม อายุ ๙๐ ปี พลเอกชัยพัฒน์ คุณสุวรรณา คุณโสมภัสชรินทร์ ธีรธำรง พลตรีหญิง ดร.ศรีศรัณย์ พลตรีหญิง ศันสนีย์ ปุณณภุม ธีรธำรง, ดร.เฉลิม คุณธีรพร ชัยวัชราภรณ์, คุณวสันต์ คุณสิริกาญจน์ อุ่นเรือนงามได้มีศรัทธาจองเป็นประธานเอกมา ๓๖ ปี
     
                   การถวายผ้าพระกฐินพระราชทานครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมทุนทรัพย์ สมโภชพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล ระหว่างวันที่ ๒๓-๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นเจดีย์สถาปัตถยกรรมไทย ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง มีพื้นที่ใช้สอย ๕ ชั้น ขนาดกว้าง ๕๒ เมตร รอบตัว ชั้นที่ ๕ : ประดิษฐานเจดีย์แก้ว พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปทองคำ ดวงแก้ว พระจตุรเถร หลวงพ่อทองคำ
     ชั้นที่ ๔ : ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงพ่อทองคำองค์ใหญ่
     ชั้นที่ ๓ : ประดิษฐานพระพุทธรูป และสิ่งของบางส่วน ถือเป็นพิพิธภัณฑ์
     ชั้นที่ ๒ : สำหรับปฏิบัติธรรม
     ชั้นที่ ๑ : พิพิธภัณฑ์ชาวบ้าน
     
                   ความสูงจากพื้นดินถึงยอดพระมหาเจดีย์ ๘๐ เมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตกแต่งด้วยวัสดุที่งดงามและคงทนถาวร จึงขอเชิญชวนมาร่วมถวายพระกฐินพระราชทานโดยพร้อมเพรียงกัน ผู้ที่ได้ทำบุญในครั้งนี้ นอกจากจะได้ร่วมทำบุญในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทานแล้ว ยังจักได้ร่วมสร้างสมบัติของพระพุทธศาสนา เป็นหลักรวมใจของพุทธศาสนิกชนสืบไป ย่อมจะได้ผลานิสงส์แห่งกุศลผลบุญยิ่งใหญ่ไพศาลยิ่งนัก
     
                   พระมหา ดร.วรัญญู ยังบอกด้วยว่า การจองเป็นประธานเอกนั้น มีผู้จองล่วงหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ เป็นต้นมา โดยในแต่ละปีจะมีผู้มาเข้าคิวจองประมาณ ๕-๑๐ ราย ทั้งนี้ ทางวัดมีแบบฟอร์มให้กรอกรายละเอียดการจองกฐินอย่างชัดเจน ซึ่งผู้จองรายที่อยู่ในลำดับที่ ๑๐-๑๕ หรือตรงกับ พ.ศ. ๒๕๖๓- พ.ศ.๒๕๖๘ ขึ้นไป น่าจะไม่มีโอกาสได้ถวายผ้ากฐิน เพราะเสียชีวิตหมดแล้ว ด้วยเหตุผลนี้ ผู้จองจึงได้เปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารกรุงเทพ สาขาตลาดพลู จากนั้นก็ฝากไว้กับเจ้าอาวาส หากเจ้าอาวาสไม่มีชีวิตอยู่ เจ้าอาวาสรูปถัดไปเป็นผู้ถือสมุดบัญชี และเมื่อถึงเวลาก็จะถอนเงินออกมา
     
                   ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อบุตรหลานและคนรุ่นหลัง ประธานเอกทั้งหมดจะเปิดสมุดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารกรุงเทพ เมื่อถึงปีที่จองเป็นประธานเอกไว้ ในกรณีที่ประธานเอกเสียชีวิตลง ทางวัดจะไม่มีการเลื่อนคนจองในลำดับถัดไปขึ้นมาเป็นประธาน โดยในปีหน้าทางวัดจะทำข้อมูลว่า ผู้ที่จองไว้มีใครยังอยู่หรือตายไปแล้วบ้าง ซึ่งตลอดระยะเวลากว่า ๔๐ ปี ที่ผ่านมา ยังไม่มีผู้จองรายใดสละสิทธิ์ แต่ก็ยังมิวายมีผู้อยากเป็นเจ้าภาพเร็วได้ไปหาข้อมูลว่า ถ้าผู้จองท่านใดตายก็ไปติดต่อกับญาติเพื่อขอเสียบเป็นเจ้าภาพแทน
     
                   โดยเมื่อ ๖ ปี ก่อน อ.วรณี สุนทรเวช ผู้จองเป็นประธานเอกตาย ได้มีคนไปขอเป็นเจ้าภาพแทน แต่ทนายซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกไม่ยอมให้ เพราะก่อนที่ อ.วรณี ถึงแก่กรรม ได้สั่งไว้ว่า "อย่าให้ใครมารับเป็นเจ้าภาพประธานเอกแทนฉันเด็ดขาด" ในกรณีจองไว้โดยมอบเงินไว้ให้วัดจะเป็นผู้ดำเนินการให้ โดยจะหาผู้แทนมาถือไตรโดยเบื้องต้นให้นายกสมาคมศิษย์หลวงวัดปากน้ำถือไตรเอกแทน แต่ถ้ามีทายาทก็จะมาถือแทน แต่กฐินพระราชทานปีหน้ามีผู้มาเสียบแทน เพราะผู้ที่จองไว้เสียชีวิตไปก่อน และไม่ได้จ่ายเงินไว้ล่วงหน้าเหมือนรายอื่นๆ
     
                   นอกจากประเด็นการจองกฐินที่ยาวนานแล้ว ดอกผลของเงินฝากก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย ผู้จองกฐินวัดปากน้ำ หลายสิบรายได้เปิดบัญชีเงินฝาก โดยเปิดบัญชีเงินฝากประจำ ๓ ปี ที่ธนาคารกรุงเทพ สาขาตลาดพลู  ซึ่งปัจจุบันนี้ธนาคารได้ให้ดอกเบี้ย ๒.๕ (นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากำไร) แม้จะรู้ว่า อายุการฝากของแต่ละบัญชีไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปี ก็ตาม เพราะการคิดอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในกรอบ ๓ เดือน ๖ เดือน และ ๑ ปีเท่านั้น ไม่ได้คิดตามอายุที่ฝาก
     
                   ดังนั้น หากฝากเงิน ๒.๒ หมื่นบาท โดยเปิดบัญชีประเภทเงินฝากประจำ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๕ โดยไม่มีการไถ่ถอนเลย แล้วไปถอนใช้ใน พ.ศ.๓๐๕๒ หรืออีก ๔๙๗ ข้างน้า โดยมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ หากคำนวณเฉพาะดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้น จะได้เงินในส่วนเฉพาะดอกเบี้ยประมาณ ๒ แสนบาท เมื่อรวมกับเงินต้นจะได้เงิน ๒.๒๒ แสนบาท แต่ในทางปฏิบัติ ธนาคารต้องคำนวณดอกเบี้ยทบต้นในแต่ละปี รวมเข้าไปด้วย ซึ่งจำนวนเงินสุทธิน่าจะสูงกว่าอีกหลายเท่าตัว


    • Update : 8/11/2555
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved