หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พิมพ์เขียว"พระพรหมบัณฑิต" พันธกิจในเวทีพุทธศาสนาโลก

    พิมพ์เขียว"พระพรหมบัณฑิต" พันธกิจในเวทีพุทธศาสนาโลก

    พัฒนาการก้าวสำคัญของวงการพุทธศาสนาไทย ที่ทำให้พุทธ ศาสนิกชนภาคภูมิใจ ที่ได้รับเกียรติแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากสหประชาชาติ (UN) มีมติตั้งสภาสากล วันวิสาขบูชาโลก (International Council for the Day of Vesak) เป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ นับเป็นครั้งแรกที่วงการพระพุทธศาสนาไทยได้รับสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของยูเอ็น ซึ่งถือเป็นประเด็นที่น่าสนใจและน่าติดตามความเคลื่อนไหวของบทบาทสภาฯ ในเวทีโลกอย่างยิ่ง

    โดย "พระพรหมบัณฑิต" (ประยูร ธัมมจิตโต) กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสมาคมสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันส่งเสริม ได้ยื่นเสนอขอรับรองเป็นองค์ที่ปรึกษาพิเศษดังกล่าวมากว่า 2 ปีแล้ว และมีกิจกรรมส่งเสริมงานของยูเอ็นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่ได้มีเพียงแต่ด้านพุทธศาสนาเท่านั้น ยังมีกิจกรรมที่เชื่อมโยงไปถึงด้านสังคมสงเคราะห์ สิ่งแวดล้อมลดภาวะโลกร้อน และการศึกษาอีกด้วย

    พันธกิจหลักในบทบาทที่ปรึกษาพิเศษนั้น พระพรหมบัณฑิตอธิบายว่า นอกจากการประสานความร่วมมือกับชาวพุทธทั่วโลก เพื่อจัดประชุมวิสาขบูชาโลกแล้ว ยังมีพันธกิจด้านอื่นๆ ดังนี้ 1.การพัฒนาที่ยั่งยืน 2.สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (โดยเฉพาะเรื่องภาวะโลกร้อน) 3.การศึกษา และ 4.การสร้างสันติภาพ

    เมื่อมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ก็ย่อมจะมีสิทธิพิเศษที่ควบคู่ให้เราได้เห็นบทบาท การดำเนินงานอย่างชัดเจน โดยหลังจากที่ได้รับอนุมัติแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งยูเอ็นแล้ว จะได้รับสิทธิหลายประการ อาทิ

    1.มีสิทธิได้รับแจ้งให้เข้าร่วมกิจกรรมและให้คำปรึกษาแก่ประเทศสมาชิกยูเอ็น ตามกรอบพันธกิจ

    2.มีสิทธิแต่งตั้งผู้แทนไปปฏิบัติหน้าที่ที่สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก นครเจนีวา กรุงเวียนนา และสามารถแต่งตั้งผู้แทนให้เป็นผู้สังเกตการณ์ในการประชุม โดยเฉพาะการประชุมใหญ่ของยูเอ็น การประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน และที่ประชุมระหว่างรัฐบาลอื่นๆ

    3.มีสิทธิเสนอถ้อยแถลงเป็นวาจา และลายลักษณ์อักษรไม่เกิน 500 คำ ให้เลขาธิการยูเอ็นแจ้งเวียนแก่บรรดาประเทศสมาชิก

    4.มีสิทธิขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการยูเอ็น อาทิ การศึกษาวิจัย การทำรายงาน เป็นต้น

    เรียกได้ว่าสิทธิดังกล่าวจะทำให้ฉายภาพความเคลื่อนไหวของบทบาทสภาฯ ในทุกด้านตามพันธกิจ สู่สายตาของยูเอ็น และยังสร้างพื้นที่แสดงทัศนะ เสนอความคิดเห็น พร้อมเปิดโอกาสให้มีข้อเสนอแนะอย่างเต็มภาคภูมิ

    นอกจากนี้ สภาฯ มีพันธกรณีต้องส่งรายงานกิจกรรมขององค์กรที่แสดงถึงการสนับสนุนงานในยูเอ็น ทุกๆ 4 ปี แน่นอนว่า ครั้งแรกที่สภาฯ ต้องส่งนั้น ภายในวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ถ้าพลาดหรือไม่ส่งรายงานตามกำหนดงานนี้ก็จะถูกเพิกถอนการเป็นองค์กรที่ปรึกษาพิเศษ ทั้งนี้ ด้วยพลังความร่วมมือทั้งสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาเถรสมาคม จะทำให้สามารถประสานงานทั้งองค์กรภายนอก และภาครัฐ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ด้วยเหตุที่สภาสากลวันวิสาขบูชาโลก เป็นที่ปรึกษาพิเศษของยูเอ็น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต้องสนับสนุนกิจกรรมของสภาฯ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยภารกิจแรกในปี 2557 นี้จะเดินหน้าจัดทำหนังสือพระไตรปิฎก ฉบับสากล มีทั้งภาษาไทย-จีน-อังกฤษ, สหบรรณานุกรมพระไตรปิฎก ฉบับนิกายเถรวาท-นิกายหินยาน-นิกายมหายาน, จัดงานวันวิสาขบูชาโลก และจัดประชุมวิชาการนานาชาติ ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม พร้อมร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภาครัฐ สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาเถรสมาคม

    พระพรหมบัณฑิตกล่าวทิ้งท้ายว่า ด้วยความซับซ้อนของโลก ที่มีหลายมิติ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง หน้าที่ของสภาวิสาขบูชาโลก ในเวทียูเอ็น จึงต้องพยายามนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นธรรมโอสถ (แก้โรค) ปัญหาได้ทุกอย่าง บนความมีเหตุ-ผล จะช่วยส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ ความปรองดอง อาทิ การประยุกต์ใช้ด้วยหลักกรุณา ขันติธรรม แก้วิกฤตต่างๆ อย่างชาญฉลาด, ส่งเสริมให้ตระหนักรู้ถึงการพึ่งพาระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติตามหลักปฏิจจสมุปบาท

    ที่สำคัญสภาฯ จะทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย เพื่อสร้างสังคมที่มีคุณค่าให้แก่มวลมนุษย์


    • Update : 29/1/2557
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved