หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ประวัติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

    ประวัติกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

    พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นับลำดับราชสกุลวงศ์เป็นองค์ที่ ๒๘
    มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์

    ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๓ เวลา ๑๕.๕๗ น. ตรงกับแรม ๓ ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง จุลศักราช ๑๒๔๒ เป็นพระลูกยาเธอองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ ( วร บุญนาค) สมุหพระกลาโหมในรัชกาลที่ ๕

    พระองค์ทรงมีพระกนิษฐาและพระอนุชา ร่วมพระมารดา ๒ พระองค์ คือ พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา ( สิ้นพระชนม์เมื่อทรงพระเยาว์ ) และพระองค์เจ้าสุริยงประยูรพันธุ์ ( ต่อมาได้ดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส - ต้นราชสกุล สุริยง )

    การศึกษา

    ทรงได้รับการศึกษาขั้นแรกที่โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง สมัยนั้นเป็นสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเริ่มจัดการศึกษาในรูป โรงเรียน ทรงเลือกเฟ้นหาครูดีมาถวายพระอักษรแด่พระเจ้าลูกยาเธอทั้งหลาย เช่น พระศรีสุนทรโวหาร, หม่อมเจ้าประภากร ( ต้นราชสกุลมาลากุล ), พระยาอิศรพันธุ์โสภณ ( หนู อิสรางกูร ) พระองค์เจ้าอาภากร ศึกษาวิชาภาษาไทยกับ พระยาอิศรพันธุ์โสภณ ( หนู อิสรางกูร ) และศึกษาวิชาภาษาอังกฤษกับ มิสเตอร์ โรเบิร์ต มอแรนต์ ซึ่งเป็นหลานของฟลอเรนซ์ ไนติงเกิล ทรงเข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนหลวง ณ พระตำหนักสวนกุหลาบจนถึง พิธีโสกันต์ เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๓๕ ( ร.ศ. ๑๑๑ ) พระองค์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

    สมรสพระราชทาน

    รัชกาลที่ ๕ ทรงสู่ขอพระราชธิดาองค์โต - หม่องเจ้าหญิงทิพยสัมพันธุ์ ของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงค์ ในอภิเษกสมรสกับเสด็จในกรมฯ เมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๔๓ พระองค์ทรงมีโอรส และพระธิดา ๓ พระองค์คือ

    ๑. มจ. เกียรติ อาภากร ประสูติและสิ้นชีพิตักษัยในวันเดียวกัน
    ๒. (พล.ท. , พล.ร.ท., พล.อ.ท) พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพยอาภา
    ๓. พล.อ.ท. มจ.รังษิยากร อาภากร

    บรรดาหม่อมของเสด็จในกรม

    ๑. หม่อมกิม 
    ๒. หม่อมแฉล้ม
    ๓. หม่อมเมี้ยน
    ๔. หม่อมช้อย
    ๕. หม่อมแจ่ม ( น้องร่วมมารดาเดียวกับหม่อมเมี้ยน)

    การออกจากราชการ

    พระองค์ได้ออกจากราชการเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน ๒๔๕๔ เนื่องจากกรณีที่ถูกคิดว่า พระองค์จะคิดล้มราชบังลังค์ ร. ๖ ซึ่งพระองค์ก็ยิงยอมเพื่อความสบายใจของทุกฝ่าย ตั้งแต่นั้นพระองค์ก็ศึกษาและเขียนตำรายา จึงได้สมญาว่า "หมอพร" พระองค์ได้เสด็จไปรักษาคนไข้ทั่วไป โดยมีตำรวจสะกดรอยตามไปดูด้วย แต่พระองค์ก็หายตัวทุกครั้งเมื่อรักษาเสร็จ

    แม้การออกจากราชการมิได้ทำให้อำนาจของพระองค์หมดไป เมื่อครั้งพระองค์เสด็จไปตรวจตราปืนที่ป้อมพระจุลฯ พบว่า มีจุดที่ต้องแก้ไขทั้ง ๖กระบอก จึงรับสั่งให้คนดูแลเอากระดาษมา แล้วเขียนบันทึกถึงกรมพระนครสวรรค์ เสนาบดีทหารเรือ กรมพระนครสวรรค์ได้ปฏิบัติตามข้อแนะนำอย่าเคร่งครัด และทำบันทึกการแก้ไขไว้เพื่อป้องกันการเข้าถึงพระเนตรพระกรรณ์ของ ในหลวง ร. ๖ แล้วเกิดความเดือดร้อนกันเสด็จเตี่ยในภายหลัง

    การกลับเข้ารับราชการ

    ในวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลเรือตรี พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ กลับเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือ แล้วพระราชทานยศให้เป็นพลเรือโทตามลำดับ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระองค์ได้จับเรือเชลยได้ ๖ ลำ หลังจากนั้นก็ทรงทูลขอที่ดินสร้างฐานทัพเรือสัตหีบ และทรงซื้อเรือรบหลวงพระร่วง ซึ่งพระองค์เดินทางไปรับเรือด้วยพระองค์เอง และขับเรือกลับมายังแผ่นดินสยาม นับเป็นคนไทยคนแรกที่สามารถบังคับเรือได้ไกล

    อาทิตย์ดับที่หาดทรายรี

    เสด็จในกรมฯ ทรงรับตำแหน่งเสนาบดี กระทรวงทหารเรือไม่กี่วัน ได้กราบบังคมลาราชการออกไป เพราะมีสุขภาพ ไม่สมบูรณ์ และประชวรโรคภายใน ทางกระทรวงทหารเรือได้ถวายเรือหลวงเจนทะเลเป็นพาหนะ พร้อมนายแพทย์ประจำพระองค์ตามเสด็จไปที่ด้านใต้ปากน้ำเมืองชุมพร ซึ่งเป็นที่ที่พระองค์จองไว้เพื่อทำสวน ขณะประทับอยู่ก็เป็นไข้หวัดใหญ่เนื่องจากตากฝน ประชวรอยู่ได้ ๓ วันก็ชิ้นพระชนม์ที่ตำบลหาดทรายรี ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖ สิริพระชนมายุ ๔๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานเพลิงศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๔๖๖

    ความเกี่ยวข้องเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์กับวัดบางแวก

    ในคราวหนึ่งเสด็จในกรม หลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้ชลมารคผ่านมาทางคลองบางแวกพอมาถึงวัด เรือพระที่นั่งก็เกิดอุปสรรค ไม่สามารถไปต่อได้ ท่านเกิดความสงสัย จึงขึ้นมาชมบริเวณรอบๆ วัดบางแวกแห่งนี้ ท่านได้เข้าไปกราบพระในพระวิหาร เห็นพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ดำไม่สุกใส เหมือนองค์อื่นๆ ซึ่งต่อมา เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์  จึงได้ สั่งช่างหลวงให้ทำพิธีเททองทับก็ไม่สุกดังตั้งใจ จึงสั่งให้เททองทับอีกสองครั้ง ก็ไม่สุกอีก เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ท่านเลยทรงขนานนาม พระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธรูปหลวงพ่อเสือ วัดบางแวก และตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ท่าน ก็ได้แวะเวียนมากราบนมัสการองค์หลวงพ่อเสืออยู่อย่างสม่ำเสมอ


    • Update : 9/5/2554
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved