หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน






ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  พระบูชา
  พระเหรียญ
  พระผง
  เครื่องราง
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
CC014 59.00  1
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระพุทธชินราชจำลอง วัดเบญจมพิตร
     

    ประวัติการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง วัดเบญจมพิตร

    ย้อนไปเมื่อ ๑๐๘ ปีที่แล้ว เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ มีพระราชประสงค์ที่จะหาพระประธาน สำหรับวัดเบญจมพิตร ซึ่งทรงขยายพระราชวังดุสิต จึงทรงสถาปนาวัดเบญจมบพิตร ให้มีความงดงามสมเป็นวัดใกล้วังดุสิต จึงโปรดเกล้าให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ออกแบบถวาย และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” อันเป็นที่รวบรวมพระพุทธรูปจากทั่วประเทศ ศุภมัสดุพระพุทธสาสนกาลล่วงแล้ว ๒๔๔๔ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธามีพระราชประสงค์จะทรงสร้างพระพุทธปฏิมากร ให้มีพระพุทธลักษณเหมือนพระพุทธชินราช ณ เมืองพระพิษณุโลก อันมีมาแต่โบราณเพื่อประดิษฐานเปนพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ณ กรุงเทพมหานคร จึงเสด็จพระราชดำเนิรโดยกระบวนชลมารควิถี มาประทับแรม ณ เมืองพระพิษณุโลก ครั้น ณ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ จันทรคติกาลเดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำปีฉลู ตรีศกจุลศักราช ๑๒๖๓ เสด็จพระราชดำเนิรมานมัศการพระพุทธชินราช ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ทรงปิดทองถวายใหม่ทั่วทั้งพระองค์ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้มีการมหรสพสมโภชแลจัดการตั้งพระราชพิธีที่จะหล่อพระพุทธชินราชขึ้นใหม่ ณ พระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ๓๐ รูปแลสวดภาณวารประจำเทียนไชย์ ๔ รูป นังปรกรูป ๑ ผลัดเปลี่ยนกันตลอดการพระราชพิธีถ้วน ๓ ทิวาราตรี ครั้น ณ วันอาทิตย์ที่ ๒๐ ตุลาคมรัตนโกสินทรศก ๑๒๐ จันทรคติกาล เดือน ๑๑ ขึ้น ๘ ค่ำปีฉลูตรีศกจุลศักราช ๑๒๖๓ เวลารุ่งเช้าเปนมงคลฤกษ์อันอุดม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเททองหล่อพระพุทธปฏิมากรเปนปฐม แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างเททองต่อไป แล้วเสด็จพระราชดำเนิรจากเมืองพระพิษณุโลก ไปประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือต่อไปจนถึงเมืองอุตรดิฐ เมื่อเสด็จพระราชดำเนิรกลับมาถึงเมืองพิษณุโลก เสด็จพระราชดำเนิรมานมัสการพระพุทธชินราช แลทอดพระเนตรพระพุทธปฏิมากรที่หล่อใหม่แล้ว จึงทรงปลูกต้นโพธิ์ต้นนี้ไว้ ณ ที่นี้ อันเปนที่ตั้งพิมพ์หล่อพระพุทธปฏิมากรองค์ใหม่ ให้ต้องตามตำนานในกาลกอ่นกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งโบราณมหาราชทรงสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์แลพระศรีศาสดาได้ทรงปลูกต้นโพธิ์ไว้ในที่ซึ่งหล่อพระพุทธปฏิมากรทั้งสามพระองค์นั้น อันเรียกกันว่าโพธิ์สามเส้ามีปรากฏอยู่ในบัดนี้ ต้นโพธิ์ต้นนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปลูกเมื่อ ณ วันอาทิตย์ที่ ๒๗ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๐ จันทรคติกาลเดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำปีฉลูตรีศกจุลศักราช ๑๒๖๓ ขอสาธุชนผู้นับถือพระพุทธสาสนา อันได้มานมัสการในที่นี้ จงรลึกถึงคุณพระรัตนไตรยอันเปนเหตุให้เกิดภาวนามัยบุญกิริยา แล้วจงรลึกถึงพระเดชพระคุณในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แลอุทิศส่วนกุศลถวายด้วยอำนาจความศรัทธา แลกตัญญูกตเวทิตาขอความสิริสวีสดิ์พิพัฒนมงคลชนมสุขจงมีแก่ท่านทั้งหลาย ความประสงค์ที่เปนธรรมปราศจากโทษจงสำเร็จทุกประการเทอญ ฯ

    ข้อความนี้จารึกที่ศิลา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก

    เหรียญ จปร (ร.๕) เนื้อเงินลงยา วัดเบญจมบพิตร

    เหรียญ จปร (ร.๕) เนื้อเงินลงยา วัดเบญจมบพิตร จัดสร้างขึ้นโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่๕ สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นของที่ระลึกแก่เชื้อพระวงศ์และข้าราชการระดับสูงในสมัยนั้น ที่มาร่วมในงานฉลองสมโภชพระพุทธชินราช(จำลอง) วัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓ และในวาระเดียวกันนี้ทางวัด วัดเบญจมบพิตรยังได้สร้าง

    เหรียญพระพุทธชินราช(จำลอง) เป็นเนื้อเงินลงยาองค์พระฉลุลอยองค์ แล้วนำมาติดบนเหรียญออกมาในคราวเดียวกันนี้ด้วย ทั้งสองเหรียญนี้เป็นเหรียญที่ออกในงานพระราชพิธีหลวงวัดเบญจมบพิตร เพื่อฉลองสมโภชพระพุทธชินราช(จำลอง) เหรียญทั้งสองนี้ทำพิธีปลุกเสกโดย สมเด็จพระสังฆราช (กรมพระยาปวเรศฯ) พร้อมพระราชาคณะและพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้นรวมหลายร้อยรูป อาทิเช่น สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง, หลวงปู่ปั้น วัดสะพานสูง, หลวงปู่นาค วัดอรุณ, หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ, ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม เป็นต้น

    ประชาชนชาวพิษณุโลก ที่มารอรับเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระประสิทธิปฏิมา (ม.ร.ว.เหมาะ ดวงจักร เมื่อครั้งเป็นหลวงประสิทธิปฏิมา) จางวางช่างหล่อขวา ซึ่งเป็นช่างหล่อฝีมือดีที่สุด ขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบจากพระพุทธชินราชองค์เดิมที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก (เริ่มทำหุ่นตลอดจนถ่ายแบบ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๔๓) แล้วเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเททองหล่อเป็นส่วนๆ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔

    เจ้าหน้าที่กำลังทำการหล่อพระเป็นปฐม

    เตาสูบลมสุมทอง บริเวณโรงหล่อพระ

    เมื่อหล่อพระแล้ว จึงอัญเชิญล่องเรือมาคุมองค์และแต่งที่กรมทหารเรือ โดย พระยาชลยุทธโยธิน (Andre du Plessis de Richelieu) ชาวเดนมาร์ก เข้ามารับราชการเป็นทหารเรือ มียศเป็นพลเรือโท ตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ(๑๖ มกราคม ๒๔๔๓ - ๒๙ มกราคม ๒๔๔๔) เป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระ

    เสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑปแห่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔

    ภาพอัญเชิญพระพุทธชิราช ขณะถึงวัดเบญจมบพิตร โดยทหารเรือ

    การทั้งปวงตั้งแต่ปั้นหุ่น หล่อ ตกแต่ง และอัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ในพระอุโบสถสำเร็จเรียบร้อยดี ทรงปีติโสมนัสอย่างยิ่ง “จึงทรงเปลื้องสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นพรัตน์ราชวราภรณ์ ซึ่งกำลังทรงอยู่นั้น ถวายพระพุทธชินราชเป็นพุทธบูชา”

    พระพุทธชินราชจำลอง เลื่อนผ่านพลับพลาพิธี

    พระพุทธชินราชจำลอง เข้าไปยังพระอุโบสถ

    ต่อมาถึงปลายปี พ.ศ. ๒๔๕๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จ้าง มร.จุรุหระ (Mr. Tsuruhara) ครูช่างในโรงเรียนวิชาช่างกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาทำการปิดทองจนแล้วเสร็จ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานสมโภชในวันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๕๓

    พระพุทธชินราชจำลอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย นั่งสมาธิราบ ศิลปะสมัยสุโขทัย มีเรือนแก้ว ประทับนั่งเหนือรัตนบัลลังก์หินอ่อน เรือนแก้วนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำถวาย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๕ แต่ช่างทำไม่งาม พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขใหม่สวยงามตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน

     เรียบเรียงโดย แว่น วัดอรุณ


    • Update : 4/10/2556
    © Copyright 2011 www.watbangwaek.com All rights reserved